วิกฤติการณ์แห่งความจริง
อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล
คำพูดของปีลาตซึ่งถามว่า “ความจริงคืออะไร” (เปรียบเทียบกับ ยอห์น 18:38) ดังก้องอยู่ปัจจุบันนี้ในรูปแบบต่างๆ “ความจริงเป็นสิ่งที่คุณเชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง” “นั่นเป็นความจริงของคุณ ส่วนฉันก็มีความจริงของฉัน คุณเป็นใครถึงที่จะมาตัดสิน” และอีกครั้ง “ในขณะที่เรื่องนั้นอาจเป็นจริงสำหรับคุณ แต่ว่าไม่จริงสำหรับฉัน” ความเข้าใจเช่นนั้นนำการมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องร้ายแรงเข้ามาสู่ความเชื่อและหลักปฏิบัติของคริสเตียน ทำให้สิ่งที่เชื่อและวิธีปฏิบัติตามความเชื่อนั้นตกอยู่ในอันตราย ถึงกระนั้น ประชาชนจึงไม่แน่ใจว่าจะเชื่ออะไร หรือเขาต้องการเชื่ออะไร ประชาชนไม่รู้ความจริง
อารัมภกถา
กลุ่มบาร์นา (A Barna Group) ศึกษาถึงแนวโน้มทางศาสนาโดยเน้นเหตุผล…
คริสเตียนชาวอเมริกันอธิบายด้วยตัวอย่างทางพระคัมภีร์ พวกเขาส่วนใหญ่ยืนยันว่า พระคัมภีร์ประกอบด้วยความจริงและมีคุณค่าควรรู้ไว้ แต่พวกเขาส่วนใหญ่โต้แย้งว่า พวกเขารู้ทุกอย่างเกี่ยวกับความจริงและหลักการที่สัมพันธ์กัน (แต่) การศึกษาค้นคว้าวิจัยของเราแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น… แบบแผนทางความเชื่อของอนุชนเป็นผลิตผลของสื่อมวลชน(1)
อีกเหตุผลหนึ่งเป็นอิทธิพลของสังคมที่มีปฏิกิริยาต่อต้านแนวโน้มสมัยใหม่ หลักเกณฑ์หรือความคิดแบบดันทุรังซึ่งถูกสื่อที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทำให้คงอยู่ตลอดไปไม่สูญหาย ไปไหน ขอให้ลองพิจารณาคำกล่าวอ้างของสังคมโดยนักปรัชญาบางคนของสังคมนั้น:
ก) อิมมานุเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) สงสัยความน่าเชื่อถือของประสาทสัมผัส เขาได้ตั้งสมมุติฐานว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ “อย่างแท้จริง” การพิจารณาว่าข้อมูลที่ถูกรวบรวมผ่านประสาทสัมผัสไม่เพียงแค่ไม่น่าเชื่อถือเท่านั้น แต่จะเปลี่ยนแปลงจากคนหนึ่งไปสู่อีกคน ซึ่งสอดคล้องกับบทท่องหรือร้องในศาสนาฮินดู: “นั่นเป็นความจริงของคุณ ฉันมีความจริงของฉัน คุณเป็นใครที่จะมาตัดสิน” น้ำเสียงแสดงความจริงใจ
ข) ลัดวิก วิทเจนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) สงสัยความน่าเชื่อถือของภาษา ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ “อย่างถึงที่สุด” เนื่องจากภาษามีความสามารถไม่พอมาตั้งแต่ดั้งเดิมที่จะอธิบายความจริงออกมาได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากภาษาเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างโดยรวมทั้งหมด “ความจริงเป็นสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันเป็นจริง”
ค) ฌอง ฌาครุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) สงสัยว่า ความจริงเป็นวัตถุประสงค์ “อย่างแท้จริง” ได้หรือไม่ เขายืนยันว่า ความคิดและความตั้งใจจะเป็น ที่ซึ่งความจริงอาศัยอยู่ในที่สุด ดังนั้น จิตวิสัยแต่ละคนและการสำรวจความคิดภายในของตนเองนำไปสู่การสรุปว่า “ในขณะที่สิ่งนั้นอาจเป็นจริงสำหรับคุณ แต่มันไม่เป็นจริงสำหรับฉัน”
ความมั่นใจเช่นนี้ถือว่าเป็นความจริง อยู่ในข้อเท็จจริง ไม่จริง สิ่งที่มีอยู่ในรายงานแต่ละชุดเป็นความขัดแย้ง อันเป็นเครื่องหมายซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิมของความเท็จ ขอให้พิจารณาถึงการกล่าวอ้างก่อนหน้านี้อีกครั้ง:
ก) “ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้” เป็นการกล่าวอ้างถึงความจริงซึ่งมีอยู่ในรายงาน ถึงกระนั้น หากความจริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า รายงานนี้ถูกต้องจริงๆ และถ้าไม่มีใครรู้เลยว่าอะไรเป็นจริง แล้วจะมีหลักเกณฑ์อะไรสำหรับการทำรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่แท้จริง
ข) ถ้าภาษาไม่เพียงพอในการถ่ายทอดความจริง ภาษาจะเพียงพอสำหรับทำบทสรุปนี้ให้พอกับความต้องการได้อย่างไร: “ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้” (เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า โดยวิธีการใช้ประโยชน์ของภาษา) ถ้าเช่นนั้นคนเรามิต้องอยู่เหนือข้อจำกัดของภาษาโดยสิ้นเชิงหรือ เพื่อจะได้นำเอาข้อจำกัดที่มีอยู่นั้นมาใช้ ดังนั้น รายงานชุดนี้จึงเท่ากับเป็นการสกัดกั้นตัวเองเช่นเดียวกับรายงานชุดแรก
ค) สิ่งที่เด่นชัดที่สุดและเป็นการทำลายตัวเองมากที่สุดน่าจะเป็น “นี่คือความจริง: ไม่มีความจริงที่แท้จริง!” แต่นี่เป็นสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังจิตวิสัยและการเข้าไปเกี่ยวข้องกับความจริง ถ้าความจริงไม่ได้รับอิทธิพลมาจากความรู้สึกหรือความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณจะไม่มีอคติในการทำรายงานนี้ให้ “ถูกต้อง” เป็นจริงได้อย่างไร
อารัมภกถา
คำตรัสของพระเยซูคริสต์ตรงกันข้ามกับหลักปรัชญาสมัยใหม่โดยตรง ขอให้พิจารณาคำตรัสต่อไปนี้:
1) “เราเป็นความจริง…” (ยอห์น 14:6) นี่เป็นคำตรัสอย่างแท้จริงเกี่ยวกับพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงความจริงซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรม พระองค์ทรงรู้จักความจริงและทรงรู้ว่าความจริงคืออะไร ดังนั้น มีเพียงองค์พระเยซูคริสต์เท่านั้นผู้ทรงเป็นความจริงสามารถกล่าวได้ว่า “เราเป็นความจริง”
2) “และพระวาทะได้รับสภาพของเนื้อหนัง” (ยอห์น 1:14) เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่า พระคริสต์ทรงอยู่เหนือข้อจำกัดของภาษา พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นผู้ริเริ่มและผู้สร้างสรรค์ภาษา (ให้เปรียบเทียบกับ ปฐมกาล 11:9) ได้รับสภาพของเนื้อหนังเพราะเหตุผลนี้ ซึ่งยอห์นได้บรรยายไว้ว่า
ซึ่งได้เป็นอยู่ตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งเราทั้งหลายได้ยิน ซึ่งเราได้เห็นกับตา ซึ่งเราได้พินิจดู และจับต้องด้วยมือของเรา เกี่ยวกับพระวาทะแห่งชีวิต (และชีวิตนั้นได้ปรากฏ และเราได้เห็นและเป็นพยาน และประกาศชีวิตนิรันดร์นั้นแก่ท่านทั้งหลาย ชีวิตนั้นได้ดำรงอยู่กับพระบิดา และได้ปรากฏแก่เราทั้งหลาย (1ยอห์น 1:1-2)
3) “พระวจนะของพระองค์เป็นความจริง” (ยอห์น 17:17) เป็นคำตรัสที่เป็นจริงซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพระผู้ทรงเป็นความจริง ดังนั้น คำตรัสนั้นเกี่ยวกับ “ตั้งแต่แรกพระวจนะของพระองค์คือความจริง” (สดุดี 119:160) จึงยอมรับได้ว่าเป็นความจริงล้วนๆ และเนื่องจากข้อพระคัมภีร์ทุกข้อเป็น “ตั้งแต่แรกพระวจนะของพระองค์” ดังนั้น พระคัมภีร์เป็นจริงเชื่อถือได้อย่างสมบูรณ์
เพราะพระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระวจนะของพระเจ้าเป็นจริงเชื่อถือได้ สิ่งที่อยู่ในพระคัมภีร์ทั้งหมดเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อ “การสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี การอบรมในเรื่องความชอบธรรม” (2ทิโมธี 3:16)
พระวจนะของพระเจ้านำมาประยุกต์ใช้กับทุกขอบข่ายการดำเนินชีวิตคริสเตียน: ด้านศีลธรรม จริยธรรม ความมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรัก ชีวิตสมรส การงานอาชีพ การทำธุรกิจ และแม้แต่ขอบข่ายที่มักจะถูกผลักไปสู่ขอบเขตของการพินิจพิจารณาตนเองและการตกอยู่ใต้อำนาจ: ดนตรี การนมัสการ และความงาม
ตัวอย่าง พระคัมภีร์กล่าวถึงความงามในความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์…
“ออกมาจากศิโยนนครแห่งความงามหมดจด” (สดุดี 50:2) กล่าวถึงความงามเป็นความงดงามของศิโยนที่ “ครบถ้วนสมบูรณ์” “เต็มเปี่ยม” “หมดจด” นครนั้นตั้งอยู่บนภูเขา ที่ซึ่งรังสีแห่งพระสิริและความรุ่งโรจน์จากพระผู้ทรงปกครองจากพระราชบัลลังก์ของพระองค์ในกรุงเยรูซาเล็มได้แผ่รัศมีออกมา “ความงามหมดจด” คือองค์พระเยซูคริสต์เจ้า
“จงนมัสการพระเยโฮวาห์ด้วยเครื่องประดับแห่งความบริสุทธิ์” (สดุดี 29:2) เป็นการกล่าวถึง “เสื้อคลุมใช้ในพิธีการหรือเสื้อคลุม” แห่งความบริสุทธิ์ การนมัสการพระเจ้าที่แท้จริงกระทำได้โดยผ่านทางความบริสุทธิ์และความชอบธรรมเท่านั้น: การอยู่ต่อเบื้องพระพักตร์พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งมีความเป็นไปได้โดยผ่านทางพระราชกิจแห่งการทรงเจิมของพระเยซูคริสต์ โดยพระองค์ผู้ทรงเป็นความชอบธรรมของเราเท่านั้น ดังนั้น “ผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง” (ยอห์น 4:24) ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่ในพระเยซูคริสต์ ดังนั้น การนมัสการที่แท้จริง ความงดงามที่แท้จริง บรรลุผลสำเร็จได้โดยผู้ที่ถูกสร้างใหม่เท่านั้น: นั่นคือผู้เชื่อที่ได้สวม “เสื้อคลุม” “เครื่องปกคุลม” แห่งความบริสุทธิ์ องค์พระเยซูคริสต์เจ้าของเราทรงเป็นเสื้อคลุมแห่งความบริสุทธิ์นั้น
ตัวอย่างเช่นนี้เป็นการเน้นความจริงแห่งพระวจนะของพระเจ้าและการนำความจริงแห่งพระวจนะของพระเจ้าไปใช้ในทุกพื้นที่ชีวิต และความรู้เกี่ยวกับองค์พระเยซูคริสต์เจ้าของเรา: พระราชกิจของพระองค์ พันธกิจของพระองค์ พระลักษณะของพระองค์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมความเข้าใจความจริงของคริสเตียน ในพระคริสต์คือคลังสมบัติแห่งสรรพปัญญาและความรู้ และการรู้จักพระองค์คือการไขไปสู่ความเร้นลับของชีวิต เพราะพระองค์ตรัสว่า “เราเป็นชีวิต” (ยอห์น 14:6)
มีความเป็นไปได้ไหมที่จะเปรียบเทียบพระเยซูคริสต์กับผู้ก่อตั้งศาสนาอื่น คำถามนี้มีความสำคัญและมีความหมายอย่างยิ่ง ผู้ก่อตั้งศาสนาหลายศาสนาให้คำมั่นสัญญาว่า ศาสนาของเขาจะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ชีวิตที่พระเยซูคริสต์เสนอให้นั้นอยู่เหนือเกินกว่าที่จะนำไปเปรียบเทียบได้ พระองค์ได้ทรงพิสูจน์พระองค์เองว่าทรงเป็นชีวิตที่แท้จริงด้วยการทรงมีชัยชนะเหนือความตาย
การเปรียบเทียบพระเยซูคริสต์กับผู้ก่อตั้งศาสนาอื่นเป็นเหมือนการเปรียบเทียบความเท็จทางหลักปรัชญากับความจริง ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีการถกเถียงกันมาก การถูกทำลายด้วยความผิดที่มีมาแต่ดั้งเดิม และสิ้นสุดที่ความตายทำให้ศาสนาอื่นๆพร้อมกับผู้ก่อตั้งศาสนาของเขาไม่สามารถแม้แต่จะเริ่มต้นเปรียบเทียบได้เลย
หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยของประทานมากมายแห่งพระวจนะของพระเจ้าและการอธิบาย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสำรวจความล้ำเลิศมิมีผู้ใดเสมอเหมือนขององค์พระเยซูคริสต์เจ้า จะเป็นการจัดเตรียมความเข้าใจเกี่ยวกับองค์พระเยซูเจ้าที่ล้ำลึกมากขึ้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นให้ เพื่อว่า “ความยินดีของท่านจะได้เต็มเปี่ยม” (1ยอห์น 1:4)
อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล, MBA, PhD,
บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ฮาร์ก
ดร.อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล, รองประธานด้านการพัฒนาและการดำเนินการที่สถาบันพระคริสตธรรมฮาร์ก และเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาการปกป้องหลักข้อเชื่อคริสเตียนและดุริยางคศาสตร์ กรรมการบริหาร นักวิสาหกิจผู้ดำเนินการที่ประสบความสำเร็จ เป็นนักออร์แกนคริสตจักรที่ประสบความสำเร็จและนักเปียโนดีเด่น ดร. คูดัล ได้เขียนหนังสือ “การถวายเกียรติแด่พระเจ้าด้วยดนตรี: การแย่งชิงอำนาจพันธกิจพระกิตติคุณ” Music Apotheosis: Usurping the Gospel Ministry ในการนำความเพียงพอทางพระคัมภีร์มาประยุกต์ใช้ (สำนักพิมพ์ทินเดล ซีมินารี 2011) และเป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรีทั่วสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเซีย
(1) กลุมบาร์นา “บทวิจารณ์บาร์นาถึงแนวโน้มศาสนาสูงสุดปี 2005” Barna Group. http://www.barna.org/barna-update/article/5-barnaupdate/166-บทวิจารณ์-บาร์นา-แนวโน้ม-ศาสนา-สูงสุด-2005 (เข้าเยี่ยมชมวันที่ 12 สิงหาคม 2012)