หนังสือ “แนวทางพื้นฐานสู่ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” บทที่ 4
อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล : เขียน
วิษฐิดา มีสุทธา : แปลและเรียบเรียง
การนมัสการพระเจ้าสำหรับผู้เชื่อในพระคริสต์มีศูนย์กลางอยู่รอบๆ “การปรนนิบัติรับใช้” (latreia) และอยู่ภายในขอบเขตนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทของดนตรีและความสัมพันธ์กับพระวจนะ
อัครสาวกเปาโลใช้คำ latreia เพื่อบรรยายถึงหน้าที่หรือภารกิจของคริสตจักรในฐานะที่เป็นอวัยวะแห่งพระกายของพระคริสต์ อัครสาวกเปาโลให้คำตักเตือนดังต่อไปนี้…
พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่าน เป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์ และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการปรนนิบัติ (latreia) อันสมควรของท่านทั้งหลาย (โรม 12:1)
อะไรคือบทบาทหน้าที่และการปรนนิบัติรับใช้ของปุโรหิต ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม คำว่า ปุโรหิต (คำในภาษาฮีบรูคือ cohen) กำหนดให้ “คนคนหนึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ปกป้องช่วยเหลือผู้อื่นและช่วยไกล่เกลี่ยมูลเหตุของเขา”1 ชนเผ่าเลวีได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ปุโรหิตและเป็นตัวแทนชาวอิสราเอลในฐานะ “ชนชาติบริสุทธิ์” ได้รับมอบอำนาจหน้าที่บริสุทธิ์ทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้พิธีการแห่งการคืนดีกันโดย “การประพรมโลหิต” การเป็นผู้กลางระหว่างพระเจ้าองค์บริสุทธิ์กับประชากรผู้ไม่บริสุทธิ์ ผู้ทำหน้าที่บริสุทธิ์นี้แสดงสัญลักษณ์ของมหาปุโรหิตโดยสวมแผ่นป้ายทองคำไว้ที่หน้าผากซึ่งมีคำจารึกไว้ว่า “ความบริสุทธิ์แด่พระเยโฮวาห์”
การทรงสถิตอยู่ของพระเจ้าในพระวิหารทำให้เกิดความรู้สึกกลัวเพิ่มมากขึ้น และพยายามเอาใจใส่เพื่อให้ความบริสุทธิ์เชิงสัญลักษณ์ดำเนินอย่างพิถีพิถันต่อไปจนบรรลุผลสำเร็จ ตั้งแต่การแต่งกายสะอาดหมดจดและสุขอนามัยส่วนตัว เพื่อยับยั้งและกำจัดสิ่งที่เป็นมลทินออกไป เพื่อคงเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะและรูปแบบของการแต่งตั้งและการปรนนิบัติรับใช้ไว้ ในที่ซึ่งทุกภารกิจ ทุกกระบวนการ และทุกหน้าที่ในการปรนนิบัติรับใช้ของผู้กลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ซึ่งมีภารกิจในการดำรงชีวิตที่ถูก “แยกไว้ต่างหาก” เพื่อความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ มิฉะนั้น พระพิโรธของพระเจ้าจะตกอยู่กับประชาชน2
อัครสาวกเปาโลใช้แนวคิดนี้ “การปลีกตัวออกมา” เป็นตัวอย่างเพื่อบรรยายถึงหน้าที่ของคริสตจักร หน้าที่หรือภารกิจที่วนเวียนอยู่รอบๆการปรนนิบัติรับใช้ แม้กระทั้งการปรนนิบัติรับใช้ด้วยการถวายตัวเป็นเครื่องบูชา
————————————————————
1 อัลเฟรด เอดเดอเชม (Alfred Edersheim ) พระวิหาร: พันธกิจและการปรนนิบัติรับใช้ (แกรน แรพิดส์: สำนักพิมพ์ Wm B. Eerdmans Publishing Company, 1982). 85
2 ความบริสุทธิ์ด้านพิธีกรรม (Ritual Purity) (เปรียบเทียบกับ กันดารวิถี 19, เลวีนิติ 11:8, 24-25, 31, 39; เลวีนิติ 12 และ 15; เลวีนิติ 21:17-23, เลวีนิติ 10; อพยพ 28:40-43, อพยพ 30:18-21, อพยพ 3:5; โยชูวา 5:15
ตามที่บรรยายไว้ในโรม 12:1 การปรนนิบัติอันสมควรหมายถึงอะไร อรรถาธิบายพระคัมภีร์ฉบับผู้ที่เชื่อ (Believer’s Bible Commentary) แปลคำ latreia เป็น ‘การนมัสการฝ่ายจิตวิญญาณ’ ”3 พจนานุกรมพระคัมภีร์ ฉบับฮาร์เปอร์ คอลลินส์ (HarperCollins Bible Dictionary) ได้ให้คำจำกัดความของคำกริยา นมัสการ เป็น ‘ปรนนิบัติ’4 การปรนนิบัติรับใช้อย่างปุโรหิตของคริสตจักรเป็นการนมัสการพระเจ้าฝ่ายจิตวิญญาณโดยเครื่องบูชาที่มีชีวิต
ใช้ของพระเจ้าแล้ว ผลที่ท่านได้รับก็คือความบริสุทธิ์ และผลสุดท้ายคือชีวิตนิรันดร์ (โรม 6:22)
แต่เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลายพ้นจากการเป็นทาสของบาป และกลับมาเป็นผู้รับ
ให้เราชำระตัวเราให้ปราศจากมลทินทุกอย่างของเนื้อหนังและจิตวิญญาณ และจงทำให้มีความบริสุทธิ์ครบถ้วนโดยความเกรงกลัวพระเจ้า (2โครินธ์ 7:1)
————————————–
3 วิลเลียม แมคโดนัลด์ (William McDonald) อรรถาธิบายพระคัมภีร์ฉบับผู้ที่เชื่อ เรียบเรียงโดย อาร์ต ฟาร์สเทด (Art Farstad) (ภายใต้หัวข้อ โรม 12:1) (แนชวิล เทนเนสซี่ สำนักพิมพ์ โธมัส เนลสัน 1995) 1728
4 พจนานุกรมพระคัมภีร์ ฉบับฮาร์เปอร์ คอลลินส์ (ภายใต้หัวข้อ “การนมัสการพระเจ้า”) ฉบับแก้ไขปรับปรุง บรรณาธิการอำนวยการ พอล เจ. แอคทีไมเออร์ (Paul J. Achtemeier) (นิวยอร์ค สำนักพิมพ์ ฮาร์เปอร์ คอลลินส์ 1985) 1222
และให้ท่านสวมมนุษย์ใหม่ซึ่งทรงสร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างของพระเจ้า ในความชอบธรรมและความบริสุทธิ์ที่แท้จริง (เอเฟซัส 4:24)
เพราะพระเจ้ามิได้ทรงเรียกเราให้เป็นคนลามก แต่ทรงเรียกเราให้เป็นคนบริสุทธิ์ (1เธสะโลนิกา 4:7)
ดังนั้น คำสอนของอัครสาวกเปาโลสำหรับคริสตจักรคือว่า การนมัสการฝ่ายจิตวิญญาณนี้ได้รับการปรนนิบัติอย่างพิถีพิถันและอย่างเข้มงวดมาก ผู้
ปลอบโยนบริสุทธิ์ (The Holy Paraclete) (คำกรีก parakletos “ที่ปรึกษา” หรือ
“ผู้ปลอบโยน”) ช่วยผู้ที่เชื่อในการทำหน้าที่บริสุทธิ์แห่ง ‘การปรนนิบัติรับใช้ด้วย
การถวายตัวเป็นเครื่องบูชา’ (latreou) นี้ให้สำเร็จ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดย
การศึกษาพระวจนะของพระเจ้า
การปรนนิบัติรับใช้นี้ต้องนำไปประพฤติปฏิบัติอย่างไร การปรนนิบัติรับใช้ของเรา เป็นการปรนนิบัติองค์พระผู้เป็นเจ้าและปรนนิบัติด้วยใจชื่นบาน (เอเฟซัส 6:7) คือมีจิตวิญญาณของข้าพเจ้าอยู่ในข่าวประเสริฐแห่งพระบุตรของพระองค์นั้น ด้วยการอธิษฐานอยู่เสมอ (โรม 1:9) ด้วยจิตวิญญาณ และชื่นชมยินดีในพระเยซูคริสต์ และไม่ได้ไว้ใจในเนื้อหนัง (ฟีลิปปี 3:3) ด้วยจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ ในการอธิษฐานทั้งกลางคืนและกลางวัน (2ทิโมธี 1:3) เพื่อนำไปสู่การเกิดผลซึ่งเป็นพระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กาลาเทีย 5:22-23)
ส่วนของดนตรีในเรื่องเครื่องบูชาที่มีชีวิต
การอยู่ประชิดกับฉากหลังของเหตุการณ์นี้ ทำให้เวลานี้เราสามารถสืบรู้ให้แน่ชัดได้ถึงบทบาทของดนตรีในชีวิตของผู้ที่เชื่อ การศึกษาคำอรรถาธิบายของพระธรรมโคโลสีซึ่งให้การชี้แนะที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ‘การปรนนิบัติเพื่อให้ถึงความบริสุทธิ์’ ของดนตรี ในพระธรรมโคโลสีได้เน้นย้ำถึงความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์และตำแหน่งผู้นำหรือผู้ทรงเป็นศีรษะของพระองค์ ตำแหน่งของผู้ที่เชื่อในฐานะสมาชิกแห่งพระกายของพระคริสต์ทำให้จำเป็นต้อง “ยึดมั่นในพระองค์ผู้ทรงเป็นศีรษะ” (2:18, 19) ด้วยการยอมจำนนต่อพระองค์ พระธรรมโคโลสีเป็นห่วง “วิสุทธิชนและพี่น้องที่สัตย์ซื่อในพระคริสต์” (1:2) โดยมีเป้าหมายดังต่อไปนี้อยู่ในความคิด:
ซึ่งคุณจะ…
1:9 เต็มไปด้วยความรู้ถึงพระประสงค์ของพระองค์ในสรรพปัญญาและในความเข้าใจฝ่ายจิตวิญญาณ
1:10 ดำเนินชีวิตอย่างสมควรต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ตามบรรดาความชอบ ให้เกิดผลในการดีทุกอย่าง และจำเริญขึ้นในความรู้ถึงพระเจ้า
1:11 มีกำลังมากขึ้นทุกอย่างโดยฤทธิ์เดชแห่งสง่าราศีของพระองค์ ให้มีบรรดาความเพียร และความอดทนไว้นานด้วยความยินดี
เพราะอะไร
1:26 (เพราะ) ข้อความลึกลับซึ่งซ่อนเร้นอยู่หลายยุคและหลายชั่วอายุนั้น แต่บัดนี้ได้ทรงโปรดให้เป็นที่ประจักษ์แก่วิสุทธิชนของพระองค์แล้ว
1:28 (ฉะนั้น) เพื่อเราจะได้ถวายทุกคนให้เป็นผู้ใหญ่แล้วในพระเยซูคริสต์
2:8 เกรงว่าจะมีผู้ใดทำให้ท่านตกเป็นเหยื่อด้วยหลักปรัชญาและด้วยคำล่อลวงอันไม่มีสาระ
2:18 อย่าให้ผู้ใดโกงบำเหน็จของท่าน
อย่างไร
3:1 ถ้าท่านรับการทรงชุบให้เป็นขึ้นมาด้วยกันกับพระคริสต์แล้ว ก็จงแสวงหาสิ่งซึ่งอยู่เบื้องบน
3:2 จงฝังความคิดของท่านไว้กับสิ่งทั้งหลายที่อยู่เบื้องบน
3:5 จงประหารอวัยวะของท่านซึ่งอยู่ฝ่ายโลกนี้ คือการล่วงประเวณี การโสโครก ราคะตัณหา ความปรารถนาชั่ว และความโลภ
3:7 ครั้งหนึ่งท่านเคยดำเนินตามสิ่งเหล่านี้
3:8 แต่บัดนี้สารพัดสิ่งเหล่านี้ท่านจงเปลื้องทิ้งเสียด้วย คือความโกรธ ความขัดเคือง การคิดปองร้าย การหมิ่นประมาท คำพูดหยาบโลนจากปากของท่าน
3:10 และได้สวมมนุษย์ใหม่ที่กำลังทรงสร้างขึ้นใหม่ในความรู้ตามแบบพระฉายของพระองค์ผู้ได้ทรงสร้างขึ้นนั้น
3:12 จงสวมใจเมตตา ใจปรานี ใจถ่อม ใจอ่อนสุภาพ ใจอดทนไว้นาน
3:13 จงผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน และ…จงยกโทษให้กันและกัน
3:14 แล้วจงสวมความรักทับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
3:15 จงให้สันติสุขแห่งพระเจ้าครอบครองอยู่ในใจของท่านทั้งหลาย
3:16 จงให้พระวาทะของพระคริสต์ดำรงอยู่ในตัวท่านอย่างบริบูรณ์ด้วยปัญญาทั้งสิ้น จงสั่งสอนและเตือนสติกันด้วยเพลงสดุดี เพลงสรรเสริญและเพลงฝ่ายจิตวิญญาณด้วย จงร้องเพลงด้วยพระคุณจากใจของท่านถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า
ให้สังเกต พระธรรมโคโลสีเป็นการพูดกับ 1) ผู้ที่เชื่อ คือคนเหล่านั้นที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ 2) คนเหล่านั้นที่ดำเนินชีวิตอย่างสมควร เกิดผลในการดีทุกอย่าง และ 3) คนเหล่านั้นที่จำเริญขึ้นในความรู้ถึงพระเจ้า บทที่สามเป็นการวางเงื่อนไขเพื่อการดำเนินชีวิตที่ชอบธรรม
ดังนั้น พระบัญชา “จงให้พระวาทะของพระคริสต์ดำรงอยู่ในตัวท่านอย่างบริบูรณ์” จึงเป็นการปูพื้นฐานเพื่อการแนะนำเพลงสดุดี เพลงนมัสการพระเจ้า (เพลงสรรเสริญพระเจ้า) และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ เมื่อดูอีกครั้งในบริบทของผู้ที่เชื่อ (ผู้ที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่เท่านั้น) และเมื่อพิจารณาถึงหัวข้อของจดหมายฝาก “ในพระคริสต์” “พระคริสต์ทรงเป็นศีรษะ” “ถอดทิ้ง (มนุษย์เก่า)” “สวม (มนุษย์ใหม่)” “จำเริญขึ้นในความรู้” ครอบคลุมถึงหน้าที่ของผู้ที่เชื่อ คำตักเตือนเกี่ยวกับการใช้เพลงสดุดี เพลงนมัสการพระเจ้า (เพลงสรรเสริญพระเจ้า) และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ ได้รับการกล่าวพาดพิงถึงว่าเป็น Triodai5 คือการรวบรวมผลงานทางดนตรีที่อยู่ในพระคัมภีร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “เพลง” และบรรลุผลคำบัญชาผ่านมิติของดนตรี ขอให้เราพินิจพิจารณาถึงจุดประสงค์ดนตรีแห่งพระคัมภีร์: เพลงสดุดี เพลงนมัสการพระเจ้า (เพลงสรรเสริญพระเจ้า) และเพลงฝ่ายจิตวิญญาณ
————————————————
5 จากคำกรีก tri (สาม) และ (h)odai (เพลง)