หนังสือ “แนวทางพื้นฐานสู่ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” บทที่ 1
อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล :  เขียน
วิษฐิดา มีสุทธา : แปลและเรียบเรียง

เมื่อใดก็ตามที่ผมเห็นคริสตจักรใดมี “ผู้อำนวยการหรือผู้นำศิลปะการนมัสการพระเจ้า” หรือวิทยาลัยพระคริสธรรมที่มอบปริญญาบัตรด้าน “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” ให้ผู้สำเร็จการศึกษา ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้ดนตรีมีความหมายเหมือนกับการนมัสการพระเจ้าไปได้อย่างไร ถ้าดนตรีเป็นการนมัสการพระเจ้า โดยเฉพาะในรูปแบบที่ดนตรีได้รับการเน้นย้ำและยกระดับขึ้นในปัจจุบันนี้ เราจะกล่าวได้ไหมว่า คนในที่ประชุมนมัสการสมัยโบราณและปัจจุบันที่มีดนตรีไม่ “เพียงพอ” และขาด “ผู้นำการประชุมนมัสการ” ที่ทันสมัยเป็นสถานนมัสการที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายจิตวิญญาณมากเพียงพอหรือไม่มีความรอบรู้เพียงพอในการนมัสการพระเจ้า นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เราจำเป็นต้องมีหลักสูตรในวิทยาลัยของเราสำหรับสิ่งที่เป็น “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” ใช่หรือไม่

เมื่อคริสเตียนพูดเกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้าบ่อยๆ สิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างแท้จริงคือดนตรีและรูปแบบทางดนตรี มีคนถามผมบ่อยๆว่า “คุณนมัสการพระเจ้าที่ไหน” และความหมายที่แท้จริงของคำถามนั้นคือ ผมไปคริสตจักรไหน และดนตรีประเภทใดที่ผมต้องการฟังเวลาอยู่ในคริสตจักร1

——————————–
1 การนำการนมัสการพระเจ้ามาประยุกต์ใช้ของคริสตจักรอยู่ใน โรม 12:1 “…ให้ถวายตัวของท่าน เป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิต อันบริสุทธิ์ และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการปรนนิบัติอันสมควรของท่านทั้งหลาย” ดังนั้น คำตอบที่เหมาะสมสำหรับคำถาม “คุณนมัสการพระเจ้าที่ไหน” น่าจะเป็น “ในร่างกายของฉัน”
——————————–

เราให้ความสำคัญมากกับดนตรีในคริสตจักร คริสตจักรต่างๆและวิทยาลัยพระคริสตธรรมบางแห่งพากันสนับสนุนส่งเสริมดนตรีและ “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” จนเกือบจะเป็นอย่างเดียวกับ “ผู้นำ” ซึ่งกลายเป็นแนวความคิดเห็นซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับคริสตจักรสมัยปัจจุบัน

วิธีการในรูปธุรกิจนิติบุคคลของคริสตจักรสมัยปัจจุบันทำให้จำเป็นต้องสอนนักศึกษาพระคริสตธรรมวัยหนุ่มสาวในด้านศิลปะ “การเป็นผู้นำ” และ “การนมัสการพระเจ้า” ในภาษาทางธุรกิจ สิ่งที่วิทยาลัยพระคริสตธรรมเสนอให้อย่างแท้จริงคือ ชั้นเรียนที่สอนว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชาใหญ่ได้อย่างไร (ศิษยาภิบาลอาวุโสหรือผู้บริหารระดับสูง – CEO) และวิธีการจัดเตรียมการแสดงดนตรีและการนำเสนอสื่อที่ล้ำหน้าล่าสุด (ผู้อำนวยการหรือผู้นำศิลปะการนมัสการพระเจ้าหรือผู้บริหารจัดการการแสดงต่างๆ) การพินิจพิจารณาวิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (MDiv) และปริญญาพันธกิจศิษยาภิบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (MMin) จากวิทยาลัยพระคริสตธรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมากกับปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) แทนที่พวกเขาจะทำงานรับใช้ด้านพันธกิจแต่กลับไปทำงานด้านการให้คำปรึกษารายงานต่างๆ

ที่น่าสนใจคือ พระคัมภีร์กล่าวไว้มากมายถึงตำแหน่งซึ่งตรงกันข้ามกับการเป็นผู้บริหารระดับสูง (CEO) นั้นคือลักษณะการเป็นทาส ซึ่งการกล่าวนี้กล่าวอย่างมีวัตถุประสงค์ อัครสาวกเปาโลและอัครสาวกเปโตรกล่าวถึงตัวเขาเองว่าเป็น “ทาส” (Gk. doulos) ของพระเยซูคริสต์ แต่ไม่น่าจะมีใครต้องการจริงๆที่จะศึกษา “ศิลปะ” ของการเป็นทาสที่ดี อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันหลักเกณฑ์เช่นนี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่สร้างผู้นำที่ดี บางที “ศิลปะของการเป็นทาส” อาจฟังดูไม่น่าดึงดูดใจมากนักหากปรากฏอยู่บนหนังสือรับรองผลทางการศึกษา (transcript)

ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหลักสูตรของวิทยาลัยหรือวิทยาลัยพระคริสตธรรมที่กล่าวถึงมุมมองทางพระคัมภีร์ในเรื่องการนมัสการพระเจ้าตามที่พระคัมภีร์ให้ความหมายไว้ แนวทางของวิทยาลัยในด้าน “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” น่าจะครอบคลุมตามแบบอย่างหลักการขั้นมูลฐานอุตสาหกรรมทางดนตรี เช่น การเขียนโน้ตเพลง การบันทึกเสียง การแสดง และการผลิตผลงานออกมา ทั้งนี้รวมถึงด้านการตลาด การพัฒนาศิลปินและองค์ประกอบทั้งหมดของงานศิลปะ(A&R) มีการพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับการผลิตอัลบั้มเพลง การโฆษณาแถลงข่าว และการจัดการแสดงคอนเสิร์ต สิ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบอุตสาหกรรมทางดนตรี แต่มีความแตกต่างมากไหมระหว่างแนวโน้มสำคัญของแนวทางอุตสาหกรรมทางดนตรีและปริญญาบัตร “ศิลปะศาสตร์การนมัสการพระเจ้า” ของผู้ที่ได้ชื่อว่าคริสเตียน ดูเหมือนไม่แตกต่างกันมากนัก บางทีคริสตจักรเองก็เอาอย่างอุตสาหกรรมทางดนตรีเพื่อจะให้เกิดความสำเร็จเท่าเทียมกันหรือดีกว่าและเข้าถึงตลาด การตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเปิดเผยให้รู้ว่า การดำเนินการทั้งสองโดยส่วนใหญ่แล้วอยู่ในแนวทางเดียวกัน มีการใช้การตลาดเดียวกัน การพัฒนาและรูปแบบทางธุรกิจอย่างเดียวกันให้เป็นประโยชน์

ด้วยเหตุที่คริสตจักรในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้นำวัฒนธรรมเข้าไปไว้ทั้งในศิลปะและดนตรี ปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมดนตรีเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแยกหมวดหมู่และการจัดลำดับขั้น เครื่องจักรอุตสาหกรรมดนตรีหลายพันล้านเหรียญซึ่งประเมินค่าหลักทรัพย์จากการประสบความสำเร็จในการปรับปรุงฟื้นฟูประเภทดนตรีร็อคที่ได้รับความนิยม (popular rock-music) ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะสำหรับคริสตจักร กำหนดรูปแบบสมัยนิยม (trends) และแบบอย่างที่เคยมีมาก่อน คริสตจักรได้รับบทบาทที่มีความสำคัญลดลง ตามที่ปรากฏให้เห็นคริสตจักรได้สูญเสียที่ยึดมั่นของคริสตจักรไปให้กับวัฒนธรรม คริสตจักรพอใจที่จะเป็นผู้ตามวัฒนธรรมเพื่อจะได้ “เข้าไปมีส่วนร่วม” แทนที่จะเป็นผู้นำวัฒนธรรม

การยอมรับโดยปริยายของคริสตจักรต่อตัวบ่งชี้รูปแบบทางวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมประจักษ์ชัดอยู่ในดนตรีของคริสตจักร มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างดนตรีที่เป็นแนวโน้มหลักของคนส่วนใหญ่และดนตรีที่ใช้ในคริสตจักร ปัจจุบันนี้บางเพลงถ้าไม่ใช่เพลงส่วนใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงคริสเตียนมีความเกี่ยวข้องกับพระเยซูคริสต์หรือพระวจนะของพระองค์เพียงเล็กน้อย และคริสตจักรส่วนใหญ่พยายามที่จะไล่ตามแบบสมัยนิยมล่าสุดและตะเกียกตะกายช่วงชิงความคิดเห็นที่ปรากฏออกมาล่าสุด ที่ยังคงพ่วงติดอยู่กับความเสื่อมและการเลื่อนไหลไปกับความเพ้อฝันของรูปแบบเฉพาะของวัฒนธรรมอย่างสิ้นหวังต่อไป ภาพที่ปรากฏออกมาเช่นนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับลักษณะที่คริสตจักรควรเป็น “—ท่านก็จะได้รู้ว่าควรประพฤติอย่างไรในครอบครัวของพระเจ้า คือคริสตจักรของพระเจ้าผู้ดำรงพระชนม์ เป็นหลักและรากแห่งความจริง” (1ทิโมธี 3:15)

คริสตจักรสมัยใหม่ส่วนใหญ่ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจซึ่งเกิดจากการเอาอย่างกันและการคาดหวังแบบผิดๆกับสิ่งที่ดนตรีเป็น และสิ่งที่เป็นการนมัสการพระเจ้า ปัจจุบันทั้งสองอย่างถูกมองว่ามีความหมายเดียวกัน และความสับสนของเราเกี่ยวกับกับดนตรีและการนมัสการพระเจ้าส่วนใหญ่เกิดจากเข้าใจผิดว่ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างสองสิ่ง เพราะดนตรีก่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์อ่อนไหวหรือการหวนรำลึกถึงสิ่งที่เราอยากจะเรียกว่า “การนมัสการพระเจ้า” และอารมณ์ความรู้สึกที่เราได้เรียนรู้จากการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้ เราใช้เล่ห์เหลี่ยมสร้างความเป็นจริงผิดๆเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นการนมัสการพระเจ้าอย่างแท้จริง ดนตรีและการนมัสการพระเจ้าไม่ใช่คำที่มีความหมายเหมือนกันในพระคัมภีร์

มีหนังสือและหนังสืออรรถาธิบายพระคัมภีร์ (commentaries) หลายเล่มในหัวข้อการนมัสการพระเจ้าได้ให้คำนิยามของการนมัสการพระเจ้าไว้ในหลากหลายลักษณะ ส่วนใหญ่แล้วการนมัสการพระเจ้าเกี่ยวข้องกับดนตรีในความหมายใดความหมายหนึ่ง บางคำนิยามได้สรุปไว้อย่างถูกต้องว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างดนตรีกับการนมัสการพระเจ้า เพราะการนมัสการพระเจ้าครอบคลุมมากยิ่งกว่านั้นมาก มีมุมมองต่างๆมากมายในหัวข้อของการนมัสการพระเจ้าซึ่งมีจำนวนมากเท่ากับจำนวนคนที่ยกหัวข้อนั้นขึ้นมาอภิปราย

ในความหมายที่ “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” ถูกนำมาใช้ในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็น ‘ศิลปะของการสำแดงความเคารพเลื่อมใส่ศรัทธาของเราผ่านทางดนตรี’ คุณอาจจะสงสัยว่า มีอีกคำนิยามหรืออีกคำจำกัดความของการนมัสการพระเจ้าหรือไม่ แน่นอนว่าพระคัมภีร์ได้ให้คำนิยามการนมัสการพระเจ้าที่แท้จริงไว้ แต่คำตอบไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดนตรี

แท้จริงแล้วสิ่งที่ผมให้ความสนใจมากกว่าเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวไว้เกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้า พระคัมภีร์ให้คำนิยามการนมัสการพระเจ้าไว้ว่าอย่างไรและอยู่ในบริบทใด และสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวไว้เกี่ยวกับดนตรีด้วย ผมเชื่อว่าความเข้าใจทางพระคัมภีร์เกี่ยวข้องกับดนตรี การใช้ดนตรีอย่างเหมาะสมในชีวิตคริสเตียนและการปรนนิบัติรับใช้จะทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นเมื่อดนตรีได้รับการเปิดเผยและทำให้เป็นแบบอย่างสำหรับเราจากพระคัมภีร์ อัครสาวก ผู้เผยพระวจนะ และปุโรหิตแห่งพระวจนะไม่เพียงแค่เป็นผู้นำข่าวดีของพระเจ้าเท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นนักเพลงสดุดี ผู้ประพันธ์เพลงนมัสการพระเจ้า (เพลงสรรเสริญพระเจ้า) และนักแต่งเพลงคนสำคัญอีกด้วยเช่นกัน บทเพลงสดุดี เพลงนมัสการพระเจ้า (เพลงสรรเสริญพระเจ้า) และบทเพลงแห่งพระคัมภีร์ทำหน้าที่เพียงจุดประสงค์เดียว คือช่วยเราในการปรนนิบัติรับใช้ถวายแด่พระเจ้า

ดังนั้น ดนตรีเป็นการนมัสการพระเจ้าหรือไม่ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกเราว่า ดนตรีเป็นการนมัสการพระเจ้าของเรา คำตอบเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งกว่า และดีมากยิ่งกว่านั้น นักดนตรีคนสำคัญที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์เป็นนักดนตรีระดับมาตรฐานยอดเยี่ยมเป็นเลิศ และเครื่องดนตรีที่ “ใช้บรรเลงเพลง” เป็นเครื่องดนตรีเฉพาะบุคคลที่ลึกล้ำเต็มเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ และเกิดขึ้นจากภายใน ตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ดนตรีไม่สามารถช่วยเราในการนมัสการพระเจ้า แนวทางพื้นฐาน วิธีการพื้นฐานเพื่อช่วยเราในด้านศิลปะการนมัสการพระเจ้าของเราคือพระคัมภีร์ และเครื่องดนตรีชิ้นนั้นที่บรรเลงเพลงอยู่ในจิตใจของเรา

ถ้าเช่นนั้น การนมัสการพระเจ้าคืออะไร บทที่ 2