หนังสือ “แนวทางพื้นฐานสู่ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” บทที่ 2
อาร์นฟิลด์ พี. คูดัล :  เขียน
วิษฐิดา มีสุทธา : แปลและเรียบเรียง

เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับคริสตจักรปัจจุบันนี้ ที่เรามักจะเชื่อมโยงคำ การนมัสการพระเจ้า กับดนตรีและกับกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น การจัดรายการ การนำเสนอด้วยสื่อ รูปแบบซึ่งได้กำหนดไว้ของการนมัสการพระเจ้าในคริสตจักร และการร้องเพลงของคนในที่ประชุม อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์ไม่ได้ใช้การนมัสการพระเจ้าด้วยวิธีการนั้น

ในพระคัมภีร์มีความเชื่อมโยงกันเล็กน้อยระหว่างคำนิยามทางพระคัมภีร์สำหรับการนมัสการพระเจ้าและความเชื่อมโยงของการนมัสการพระเจ้ากับดนตรี สิ่งที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่เพียงแค่คำในภาษาฮีบรูและภาษากรีกคำเดียวที่จะเป็นเครื่องแสดงแนวความคิดสมัยใหม่ของเราว่า “ดนตรีมีความเท่าเทียมกันกับการนมัสการพระเจ้า” การใช้คำนิยามผิดๆและไม่เหมาะสมนำคริสตจักรดิ่งลงสู่แนวทางผิดๆ เข้าไปสู่การเสริมแต่งเทพนิยายโบราณ และส่งผลลัพธ์เด่นชัดในหลักปฏิบัติคริสตจักรที่ไม่มีเหตุผลของเรา สภาพความสับสนปัจจุบันของเราเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เราได้หลงห่างไกลจากความจริงไปนานเกินไปแล้ว

คำ การนมัสการพระเจ้า คำเดียวกัน ได้รับการแปลจากคำกรีกหลายคำดังรายละเอียดที่ให้ไว้ข้างล่างนี้ แต่ละคำแตกต่างกันและบรรยายถึงแนวคิดที่ต่างกัน ให้สังเกตว่า ไม่มีคำใดที่อ้างอิงร่วมกันเกี่ยวโยงกับดนตรีเลย:

ก. Sebomai: (คำกริยา) แสดงความเคารพยำเกรง (“เขานมัสการเราโดยหาประโยชน์มิได้” มัทธิว 15:9)

ข. Thréskeia: (คำนาม) พิธีกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมทางศาสนา (“อย่าให้ผู้ใดโกงบำเหน็จของท่านด้วยการจงใจถ่อมตัวลงและกราบไหว้พวกทูตสวรรค์” โคโลสี 2:18)

ค. Theosebés: (คำคุณศัพท์) ผู้ยำเกรงพระเจ้า (“แต่ถ้าผู้ใดนมัสการพระเจ้า และกระทำตามพระทัยพระองค์ พระองค์ก็ทรงฟังผู้นั้น” ยอห์น 9:31)

ง. Proskyneō: (คำกริยา) คุกเข่าลง สัมผัสกับพื้นดิน (“เราได้เห็นดาวของท่านปรากฏขึ้นในทิศตะวันออก เราจึงมาหวังจะนมัสการท่าน” มัทธิว 2:2)

จ. Latreia: (คำนาม) การปรนนิบัติรับใช้ (“ให้ถวายตัวของท่าน เป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิต… ซึ่งเป็นการปรนนิบัติอันสมควร (การนมัสการพระเจ้า) ของท่านทั้งหลาย” โรม 12:1)

หากว่าเวลานี้เราต้องใช้คำเหล่านี้ และนำคำเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ราวกับว่าคำเหล่านี้เป็น “ศิลปะการนมัสการพระเจ้า” การนำไปใช้แบบนี้จะมีลักษณะเช่นไร

คำแรก sebomai บรรยายถึงชาวกรีกที่เกรงกลัวพระเจ้าในกิจการ 17:4 และผู้ที่เคารพบูชาพระแม่เจ้าไดอาน่าในกิจการ 19:27 คำนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างว่าใครหรือสิ่งใดได้รับการเคารพบูชาอย่างไร อีกประการหนึ่ง sebomai ถูกนำมาใช้เพื่อบรรยายถึงคนเหล่านั้นที่หาประโยชน์มิได้ในการติดตามและ ‘นมัสการ’ พระเยซู (มัทธิว 15:9) คำนี้ยังบรรยายเพิ่มเติมถึงคนเหล่านั้นซึ่งเป็นผู้ติดตามที่เกรงกลัวพระเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่พระเยซูทรงโต้ตอบด้วยที่ตลาด (กิจการ 17:17) sebomai หมายความว่า เคารพยำเกรง และบอกเป็นนัยถึงความรู้สึกเกรงกลัว ไม่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะหรือเกี่ยวกับดนตรีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับคำ sebomai ได้เลย

คำที่สอง thréskeia บ่งบอกถึงความเลื่อมใสศรัทธาในความเชื่อที่เป็นพิธีการ เช่น ในกิจการ 26:5 เมื่อเปาโลพูดเกี่ยวกับพวกฟาริสีว่าเป็นพวกที่ถือเคร่งครัดที่สุด พวกที่เคร่งครัดในความเชื่อมากที่สุด และถูกนำมาใช้ใน ยากอบ 1:26 เมื่อยากอบพรรณนาถึงผู้ที่เคร่งครัดในความเชื่อหรือผู้ที่เคร่งครัดอย่างเข้มงวดในเรื่องพิธีการ เป็นไปได้ไหมที่เราเป็นผู้ที่ถือปฏิบัติความเลื่อมใสศรัทธาในความเชื่อแบบสมัยใหม่ด้วยดนตรีของเราในการประชุมนมัสการพระเจ้าในวันอาทิตย์

ตัวอย่างคำที่สาม Theosebés บรรยายถึงคนเหล่านั้นที่ยำเกรงพระเจ้า เช่น คนเหล่านั้นที่กลับใจใหม่มาเชื่อวางใจพระเจ้า เป็นผู้ที่แสวงหาพระเจ้าและกระทำตามน้ำพระทัยของพระองค์ (ยอห์น 9:31) คนต่างชาติหรือชาวกรีกที่แสวงหาพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ที่พระวิหารที่ได้รับการกล่าวอ้างอิงถึงโดยชาวยิวว่าเป็น theosebés หรือผู้ที่ยำเกรงพระเจ้า ความยำเกรงพระเจ้าไม่สามารถถูกชักจูงหรือชักชวนผ่านทางเสียงดนตรีได้เลย

ตัวอย่างคำที่สี่ proskyneō มาจากคำ shachah ในภาษาฮีบรู หมายความว่า “หมอบกราบลงจรดพื้น” ความหมายเบื้องต้นของการหมอบกราบลงบอกเป็นนัยถึงการแสดงอากัปกิริยาทางกายภายนอกในการก้มลงหรือการจูบพื้นดิน ความหมายรองลงมารวมถึงความเคารพบูชาและความนับถือควบคู่ไปกับการแสดงออกทางกายของการโค้งคำนับ

ในวัฒนธรรมชาวตะวันออก กิริยาท่าทางของการไหว้และการกราบแฝงความหมายซึ่งบ่งบอกถึงตำแหน่ง สถานะทางสังคม และระบบระดับชนชั้น การไหว้และการกราบนั้นไม่เพียงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ได้รับการแสดงความเคารพหรือนับถือเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามด้วยเช่นกัน ดังนั้น การไหว้และการกราบทำหน้าที่เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง เป็นการบ่งชี้ที่มองเห็นได้ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของระบบระดับชนชั้น

ในประเทศจีนและประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังคงมีข้อกำหนดเกี่ยวกับศิลปะการกราบไหว้ (นั่นคือ ก้มศีรษะลงต่ำแค่ไหน หรือวางตำแหน่งมือของคุณไว้ระดับไหน) ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะ วงศ์ตระกูล และลำดับชนชั้นทางสังคม ความคาดหวังและข้อกำหนดเช่นนี้ยังคงนำมาใช้และยังคงฝังอยู่ลึกในวัฒนธรรมนั้น ผู้อ่านคงจะสันนิษฐานจากวัฒนธรรมเหล่านี้ว่า ชื่อหนังสือเล่มนี้ – ‘ศิลปะการนมัสการพระเจ้า’ – จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะหรือวิธีการสอนเกี่ยวกับการคำนับและการแสดงการคารวะอย่างมีพิธีรีตอง

พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมแสดงถึงมุมมองชาวตะวันออกเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นที่แวดล้อมธรรมเนียมปฏิบัติในการกราบไหว้ และในความเป็นจริง หนังสือพระธรรมดาเนียลกล่าวถึงดนตรีในบริบทของการหมอบกราบลง (proskyneō) เนบูคัดเนสซาร์ประกาศว่า เมื่อได้ยินเสียงแตรและเสียงปี่ นั่นเป็นเวลาให้ทุกคนกราบลงนมัสการปฏิมากรที่พระองค์สร้างขึ้นมา ลูกหลานชาวฮีบรูสามคน ได้แก่ ฮานันยาห์ มิชาเอล และอาซาริยาห์ปฏิเสธที่จะทำตามนั้น (เปรียบเทียบกับ ดาเนียล 3:10-12) ดนตรีมุ่งหมายให้ค่อยๆสอดแทรกเข้ามาในความรู้สึกสังหรณ์หรือความรู้สึกสำนึกถึงการเคารพบูชาต่อปฏิมากรนี้ และแสดงออกด้วยการกราบลงนมัสการในการแสดงความนับถือและความเป็นข้ารับใช้ การแสดงความรู้สึกนั้นถูกประกาศและยืนยันออกมา ผมสงสัยว่าคริสตจักรต่างๆจะต้องการใช้ตัวอย่างนี้เป็นวิธีการสำหรับ “การนมัสการพระเจ้า” หรือ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงและในทางปฏิบัติ คุณสมบัติหรือความล้ำลึกของความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าบ่อยครั้งประเมินจากวิธีที่เราแสดงการกระทำของเราในการก้มกราบลง (proskyneō) เรายกมือของเราสูงพอหรือไม่ หงายมือขึ้นหรือคว่ำมือลง เราหลับตาหรือไม่ มีความรู้สึกสำนึกเพียงพอต่อการนมัสการพระเจ้าหรือยัง

แท้จริงแล้ว ในทางปฏิบัติของคริสตจักรต่างๆใช้ดนตรีเพื่อเป็นการให้สัญญาณทำกิจกรรมบางอย่างในการประชุมนมัสการ แม้กระนั้น สิ่งที่น่าสังเกตคือ พระคัมภีร์มิได้มีแนวทางสำหรับการหมอบกราบลง (proskyneō) ด้วยดนตรีว่าเป็นอย่างไร ยกเว้นตัวอย่างนี้ตามที่กล่าวไว้อย่างประชดเหน็บแนมในหนังสือพระธรรมดาเนียลบริบทคนนอกรีต

ให้สังเกตดูสิ่งที่บันทึกไว้อย่างน่าสนใจในพระคัมภีร์ เมื่อพิจารณาถึงเรื่องราวการสร้างคริสตจักรหรือพระกายของพระคริสต์ จนกระทั่งถึงการรับคริสตจักรไป ในทางปฏิบัติของการหมอบกราบลง (proskyneō) เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคมสำหรับคริสตจักรหายลับไป และจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีการสถาปนาการปกครองของพระเยซูคริสต์ขึ้นมาใหม่ในอาณาจักรของอิสราเอลที่มีระบบการปกครองที่ยึดถือพระเจ้าเป็นหลัก และด้วยเหตุนี้ การเริ่มต้นใหม่อีกครั้งของธรรมเนียมของคริสตจักร คือการหมอบกราบลงเพื่อนมัสการ (proskyneō) จะปรากฏให้เห็นอีกครั้ง (เปรียบเทียบกับ วิวรณ์ 4:10)

ถ้าสิ่งที่ได้ชื่อว่าการนมัสการพระเจ้า/ศิลปะทางดนตรีถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการหมอบกราบลง (proskyneō) แล้วเราจะแสดงความคิดเห็นนี้เกี่ยวกับระบบลำดับขั้นสำหรับดนตรีอย่างไร น่าเสียดายเมื่อดนตรีถูกนำมาใช้เป็น “การแสดงการก้มคำนับ” ซึ่งเป็นการรับบทบาทที่น่ากลัวมากขึ้น ดนตรีเข้าแทนที่ด้านที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนประกอบแท้ที่จำเป็นสำหรับชีวิตการนมัสการพระเจ้าตามพระคัมภีร์ ดนตรีกลับกลายมาเป็นตัวเบี่ยงเบนความสนใจที่จำเป็นและถูกทำให้เป็น และกลายเป็นเป้าหมายการนมัสการพระเจ้าของเรา

การนมัสการพระเจ้าของดนตรีคืออะไร บทที่ 3